วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การดูดกากตะกอนในถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป

การดูดกากตะกอนในถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
ความเข้าใจในถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
โดยทั่วไปแล้วถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแบบถังแยกหรือแบบถังรวม จะประกอบไปด้วย ส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ถังเกรอะหรือส่วนเกรอะ ( SEPTIC TANK or SOLID SEPARATION TANK ) จะเป็นถังแรกหรือส่วนแรกที่จะรับน้ำเสีย ทำหน้าที่แยกของแข็งที่ปนมากับน้ำเสียออก และจะมีกระบวนการย่อยสลายของแข็งหรือสารอินทรีย์ขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง โดยเชื้อจุลินทรีย์มี่มีอยู่ภายในถังส่วนนี้ ของแข็งหรือตะกอนที่เหลือจากการย่อยสลายจะถูกเก็บกักไว้ในถัง เพื่อรอการกำจัดโดยวิธีการดูดกากตะกอนไปทิ้งต่อไป สำหรับน้ำเสียที่ผ่านการแยกของแข็งบางส่วนออกแล้ว จะไหลผ่านเข้าไปสู่ส่วนที่ 2 ต่อไป
ส่วนที่ 2 จะแบ่งเป็น 2 ชนิด แล้วแต่การเลือกใช้ คือ
ส่วนที่ 2.1 ถังกรองชนิดไม่เติมอากาศ (ANAEROBIC FILTER) ในถังหรือส่วนกรองชนิดไม่เติมอากาศนี้ ส่วนใหญ่จะมีตัวกลางพลาสติกสำหรับให้เชื้อจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ต้องการใช้ออกซิเจนอาศัยเกาะตัวอยู่เพื่อทำหน้าที่ย่อยสลายของแข็งหรือสารอินทรีย์ขนาดเล็กที่แขวนลอยปนอยู่ในน้ำเสียซึ่งไหลผ่านมาจากส่วนที่ 1 ถังเกรอะหรือส่วนเกรอะ ให้กลายเป็นน้ำใสที่ผ่านการบำบัดแล้วสามารถปล่อยทิ้งลงสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะได้

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พลังงานทดแทน

ปี 2551 ราคาน้ำมันขึ้นสูงไปอย่างไม่เคยมีมาก่อน ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ขึ้นสูงถึง 43.35 บาทต่อลิตร

ช่วงเวลานั้น หลายท่านรู้สึกได้ว่า รถยนต์ในถนนน้อยลง ทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนตื่นตระหนกและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องของพลังงานทดแทน ปัจจุบัน (พฤศจิกายน 2551) ราคาน้ำมันลดลงมาจนรู้สึกได้ว่า รถยนต์บนถนนกลับมาติดแน่นเหมือนเดิม แต่ผู้มีสติสัมปชัญญะและปัญญาย่อมทราบว่า การละเลยความสำคัญของการพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นความเสี่ยงต่อความเสียหายที่ใหญ่หลวงรออยู่


พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถแบ่งตามแหล่งที่ได้มาเป็น 2 ประเภท คือ พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น และพลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น กลุ่มพลังงานหมุนเวียนที่เป็นที่สนใจและได้รับกล่าวถึงให้ได้ยินอยู่เสมอ ได้แก่ พลังงานจากขยะมูลฝอย พลังงานจากก๊าซชีวภาพของน้ำเสีย พลังงานไบโอดีเซล พลังงานเอทานอล พลังงานไฟฟ้าชีวมวลและพลังงานไฮโดรเจน วันนี้ตั้งใจจะกล่าวถึงพลังงานดาวรุ่งที่ถูกสนใจมากซึ่งพอจะแบ่ง

ปริมาตรบำบัดหมายถึงอะไร


1. ปริมาตรบำบัดหมายถึงอะไร
ปริมาตรการบำบัด คือ ปริมาตรที่ถังบำบัดน้ำเสีย สามารถบรรจุน้ำเสียไว้ได้ ซึ่ง ก็คือปริมาตร ที่วัดกันที่ระดับท้องท่อน้ำออกนั่นเอง ดังนั้นเวลาจะเลือกรุ่น ก็ควรเปรียบเทียบกันที่ระดับท้องท่อเป็นสำคัญ การเปรียบกันแค่เพียงชื่อรุ่น หรือปริมาตรระดับปากถังอาจทำให้ท่านได้ถังบำบัดที่มีขนาดไม่ตรงตามที่ท่านต้องการ

2.เลือกซื้ออย่าดูแค่ชื่อรุ่น
ปริมาตรการบำบัด เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกขนาดถังบำบัดโดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อมักเข้าใจว่าตัวเลขที่ระบุในชื่อรุ่น บ่งบอกถึงปริมาตรการบำบัด ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้ผลิตถังบำบัดฯส่วนใหญ่ ก็มักจะใช้หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อรุ่นให้บ่งบอกถึงขนาดปริมาตรการบำบัด แต่ก็มีผู้ผลิตบางยี่ห้อไม่ได้ตั้งชื่อของรุ่นให้เกี่ยวข้องกับปริมาตรการบำบัดเลยซึ่งก็มีหลายๆวิธีที่ทำกัน เช่นออกผลิตภัณฑ์มาหลายขนาดแต่ละขนาดก็ตั้งชื่อรุ่นให้มีตัวเลขที่เป็นปริมาตรการบำบัด เช่น รุ่น xxx-1600 , xxx-1800 , xxx-2000 ก็มีปริมาตร 1600 , 1800, 2000 ลิตร ตามลำดับ แต่พอเป็นรุ่น xxx-1000 กลับมีปริมาตรบำบัดน้อยกว่า 1000 ลิตร ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้นบางยี่ห้อโกงปริมาตรกันอย่างจะๆพ่นชื่อรุ่นให้มปริมาตรตามอำเภอใจ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับขนาดเลย แต่แฝงไว้ด้วยเจตนาที่จะทำให้ลูกค้าเข้าใจผิดว่า ถังยี่ห้อของตนเองมีปริมาตรเท่ากับยี่ห้ออื่น

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แนวทางการเลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสีย

ครัวเรือนปัจจุบันนี้ผู้บริโภค มีความตระหนักในสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ที่ใช้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมดีมากขึ้น สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เอง ตัวอย่างเช่น เลือกซื้อถังบำบัดน้ำเสียสำหรับครัวเรือนได้เอง จากร้านค้า วัสดุก่อสร้างต่างๆ ซึ่งมีให้เลือก หลายรุ่น หลายวัสดุ หลายยี่ห้อ แต่จะมีวิธีการเลือกใช้อย่างไร ให้เหมาะสมกับน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากบ้านเรือนของตนเอง จึงอยากมีข้อแนะนำและหลักการง่ายๆ ในการเลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสียมาฝากดังนี้
หลักการบำบัดน้ำเสียของถังบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน คือใช้แบบถังเกรอะและกรองไร้อากาศ โดยถังเกรอะจะทำหน้าที่แยกกากและย่อยกากให้เหลือความสกปรกลดลง

ส่วนน้ำใสจะไหลเข้าส่ส่วนกรองไร้อากาศ ภายในส่วนกรองไร้อากาศจะมีตัวกลางพลาสติก ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้จุลินทรีย์ที่เป็นตัวย่อยความสกปรกในน้ำยึดเกาะอย่ที่ผิวเพื่อคอยย่อยสารสกปรกในน้ำเสียโดยไม่ต้องมีการเติมอากาศแต่อย่างใด ยิ่งมีจำนวนจุลินทรีย์มาก และมีเวลาให้จุลินทรีย์ได้ย่อยน้ำเสีย(มีเวลาให้กินสิ่งสกปรก)อย่เป็นเวลานาน ก็จะทำให้ย่อยสิ่งสกปรกในน้ำได้มาก น้ำทิ้งที่ออกจากถังก็จะสกปรกน้อยลง ซึ่งความสกปรกของน้ำเสีย(ในรูปBOD) จากทุกกิจกรรมที่เราทำอย่ เช่น น้ำอาบ น้ำห้องน้ำ น้ำซักล้าง รวมกัน เฉลี่ยๆแล้วอย่ประมาณ 250 มก./ลิตร
เวลาที่เหมาะสมในการให้จุลินทรีย์ได้ย่อยน้ำเสียคือเวลาที่น้ำเสียถูกขังไว้ในถังก่อนที่จะไหลออกไปจากถัง