วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แนวทางการเลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสีย

ครัวเรือนปัจจุบันนี้ผู้บริโภค มีความตระหนักในสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ที่ใช้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมดีมากขึ้น สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เอง ตัวอย่างเช่น เลือกซื้อถังบำบัดน้ำเสียสำหรับครัวเรือนได้เอง จากร้านค้า วัสดุก่อสร้างต่างๆ ซึ่งมีให้เลือก หลายรุ่น หลายวัสดุ หลายยี่ห้อ แต่จะมีวิธีการเลือกใช้อย่างไร ให้เหมาะสมกับน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากบ้านเรือนของตนเอง จึงอยากมีข้อแนะนำและหลักการง่ายๆ ในการเลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสียมาฝากดังนี้
หลักการบำบัดน้ำเสียของถังบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน คือใช้แบบถังเกรอะและกรองไร้อากาศ โดยถังเกรอะจะทำหน้าที่แยกกากและย่อยกากให้เหลือความสกปรกลดลง

ส่วนน้ำใสจะไหลเข้าส่ส่วนกรองไร้อากาศ ภายในส่วนกรองไร้อากาศจะมีตัวกลางพลาสติก ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้จุลินทรีย์ที่เป็นตัวย่อยความสกปรกในน้ำยึดเกาะอย่ที่ผิวเพื่อคอยย่อยสารสกปรกในน้ำเสียโดยไม่ต้องมีการเติมอากาศแต่อย่างใด ยิ่งมีจำนวนจุลินทรีย์มาก และมีเวลาให้จุลินทรีย์ได้ย่อยน้ำเสีย(มีเวลาให้กินสิ่งสกปรก)อย่เป็นเวลานาน ก็จะทำให้ย่อยสิ่งสกปรกในน้ำได้มาก น้ำทิ้งที่ออกจากถังก็จะสกปรกน้อยลง ซึ่งความสกปรกของน้ำเสีย(ในรูปBOD) จากทุกกิจกรรมที่เราทำอย่ เช่น น้ำอาบ น้ำห้องน้ำ น้ำซักล้าง รวมกัน เฉลี่ยๆแล้วอย่ประมาณ 250 มก./ลิตร
เวลาที่เหมาะสมในการให้จุลินทรีย์ได้ย่อยน้ำเสียคือเวลาที่น้ำเสียถูกขังไว้ในถังก่อนที่จะไหลออกไปจากถัง



-ในส่วนถังเกรอะ ถ้าให้เกิดการย่อยได้จริง ก็ไม่ควรน้อยกว่า 1 วัน ซึ่งจะย่อยได้ประมาณ 30-40%ของความสกปรกที่เข้ามา
-ในส่วนกรองไร้อากาศ เพื่อให้จุลินทรีย์บนผิวตัวกลางมีเวลาย่อยน้ำเสีย ก็ไม่ควรน้อยกว่า 0.5 วัน ซึ่งก็จะย่อยความสกปรกให้ลดลงไปได้อีกประมาณ 50-60%
ความสามารถในการย่อยความสกปรกในน้ำที่บอกไปนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นน้ำเสียทุกประเภทนะ เพราะถ้าน้ำเสียมีไขมันสูงๆ ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการย่อยก็ต้องมากกว่านี้ เพราะไขมันในน้ำเสียย่อยยากมาก และมีค่าความสกปรกสูงมาก สูงกว่าน้ำเสียจากห้องน้ำ-ห้องส้วม ซึ่งมีค่าความสกปรกในรูป (BOD) แค่ 250 มก./ลิตร ส่วนไขมัน ค่าBOD จะอย่ประมาณ 1000 มก/ลิตร ขึ้นไป (ทั้งสกปรกเยอะและทั้งย่อยยากเลยหล่ะไขมันเนี่ย)

สำหรับการคิดปริมาณน้ำเสีย ว่าจะคิดอย่างไรถึงจะเหมาะสม หลักการทั่วไปที่ใช้กันก็คือ ในทุกกิจกรรมที่มีการใช้น้ำ จะเกิดเป็นน้ำเสียประมาณ 80% (ยกเว้น น้ำที่นำไปรดน้ำต้นไม้นะ ไม่ต้องนำมาคิด)
ตัวอย่างเช่น
ถ้าที่บ้านเรามีกันอยู่ 5 คน อัตราน้ำใช้ เฉลี่ยต่อคน คือ 250 ลิตร/คน/วัน และจะกลายมาเป็นน้ำเสียประมาณ 80 % ของปริมาณน้ำใช้ ก็คือจะเป็นน้ำเสียประมาณ 200 ลิตร/คน/วัน ดังนั้น น้ำเสียที่เกิดขึ้น = 200 ลิตร/คน/วัน x 5 คน = 1000 ลิตร / วัน
การเลือกใช้ถังบำบัด ชนิดเกรอะ-กรองไร้อากาศ ที่เหมาะสมคือ
1. เช็ค ปริมาตรบำบัด ส่วนเกรอะ ควรมีปริมาตรในส่วนนี้ ไม่น้อยกว่า 1000 ลิตร2. เช็คปริมาตรบำบัด ส่วนกรองไร้อากาศ ควรมีปริมาตรในส่วนนี้ ไม่น้อยกว่า 500 ลิตร 3. เช็คปริมาตร ตัวกลางพลาสติกในถัง ควรมีปริมาตรตัวกลาง ไม่น้อยกว่า 200 ลิตร 4. เช็คพื้นที่ผิว ของตัวกลางพลาสติก ควรมีพื้นที่ผิวของตัวกลางไม่น้อยกว่า 110 ตารางเมตร/ ลูกบาศก์เมตร
หลักๆคือ เช็ค ที่ข้อ 1 และ 2 ก่อนก็ได้ คือ ปริมาตรบำบัด รวมของถัง ไม่ควรน้อยกว่า 1500 ลิตร แต่ถ้าปริมาตรบำบัดมากกว่านี้ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะยิ่งมีปริมาตรมาก ก็ยิ่งทำให้น้ำเสียมีเวลาอยู่ในถังบำบัดนานขึ้น มีเวลาให้จุลินทรีย์ในถังย่อยสิ่งสกปรกได้นานขึ้น น้ำทิ้งก็จะยิ่งสะอาดมากขึ้น
สำหรับปริมาตรของตัวกลางพลาสติก และพื้นที่ผิวของตัวกลาง นั้นก็มีผลต่อประสิทธิภาพในการบำบัดด้วยเช่นกันเพราะ หน้าที่ของตัวกลางก็คือ เป็นที่ให้จุลินทรีย์ในถังที่ทำหน้าที่ย่อยสิ่งสกปรกในน้ำ ได้มีที่ยึดเกาะ ยิ่งมีที่ยึดเกาะมากๆ ก็มีจุลินทรีย์มาก ความสกปรกในน้ำเสียก็ถูกย่อยได้มาก น้ำก็จะเหลือความสกปรกน้อยลง
ข้อดี ของการเลือกใช้ถังแบบเกรอะกรองไร้อากาศแบบนี้ ก็คือดูแลง่าย แค่สูบกากบ้างประมาณ 2ปี/ครั้ง และประหยัดไฟ เพราะไม่ต้องใช้เครื่องเติมอากาศ
ข้อเสีย ก็มีบ้าง เพราะระบบนี้จะเกิดก๊าซ ที่มีกลิ่นเหม็นที่เราเรียกว่าก๊าซไข่เน่า เหมือนที่เราได้กลิ่นจากน้ำในบ่อพักนั่นล่ะ และการใช้งานช่วงแรกอาจจะได้กลิ่นจากการย่อยกากไม่ทันเพราะจุลินทรีย์ในถังยังมีน้อยอย่ แต่ถ้าใช้ไปประมาณ 6 เดือนกลิ่นก็จะดีขึ้น (ไม่ร้ว่าเพราะชินไปเอง หรือทำใจได้แล้วหรือเปล่า) แต่ถ้าทนไม่ได้การไปหาซื้อจุลินทรีย์ช่วยย่อยกากมาใช้ช่วยบ้างก็ไม่เสียหายนะคะ ราคาก็ไม่สูงนักพอหาซื้อได้สบายๆ เอาไว้หากมีโอกาส จะแนะนำเรื่องเชื้อจุลินทรีย์ให้ค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น